คณะวิศกรรมศาสตร์
การจัดการความรู้
คำจำกัดความ
สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
อนุญาต หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทำการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความ
ยินยอมก่อนกระทำการนั้นและให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต
การอนุมัติการจดทะเบียน การขึ้นทะเบียนการรับแจ้งการให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย
ผู้อนุญาต หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาต
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่าผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
คำขอ หมายความถึง บรรดาคาขอดังนี้
* คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ [แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
* คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/อสป/003-ก]
* คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ [แบบสป/อสป/004-ก]
* คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ [แบบสป/อสป/005-ก]
* คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรและคัดสำเนาเอกสาร [แบบสป/สผ/อสป/006-ก]
* คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/007-ค]
* คำขอนำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลงเพิ่มเติม [แบบสป/สผ/007-ก(พ)]
* คำโต้แย้ง [แบบสป/สผ/008-ก]
* คำอุทธรณ์ [แบบสป/สผ/อสป/009-ก]
* คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/อสป/001-ก(พ)]
* คาขออื่นๆ [แบบสป/สผ/อสป/011-ก]
ผู้รับบริการหรือยื่นคำขอ หมายถึง ประชาชนผู้รับบริการโดยตรง หรือหน่วยงานภาคเอกชน หรือภาครัฐที่มารับบริการจากหน่วยงานของรัฐ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
1.2 เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นและ
1.3 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
1.4 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรฯ นี้
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสาร
สกัดจากสัตว์ หรือพืช
(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสาหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของ
ประชาชน
2. คำขอรับสิทธิบัตร ผู้ยื่นคำขอต้องมีรายละเอียดประกอบคำขอดังนี้
2.1 แบบพิมพ์คำขอ [แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
2.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ต้องบรรยายรายละเอียดที่มีข้อความสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้งอันจะ
ทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปะ หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องสามารถทำและปฏิบัติ
ตามการประดิษฐ์นั้นได้ ดังนี้
(1) ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
(2) ระบุสาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
(3) ภูมิหลังของศิลปะ หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้เข้าใจการประดิษฐ์นั้นดีขึ้นและ
เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ระบุเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย (ถ้ามี)
(4) อธิบายลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
(5) เปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์
(6) อธิบายรูปเขียนแต่ละรูปโดยย่อ(ถ้ามี)
(7) วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด
2.3 ข้อถือสิทธิ ต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรประสงค์จะขอความคุ้มครองโดย
สมบูรณ์ รัดกุม และ ชัดแจ้ง รวมทั้งต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์
2.4 รูปเขียน(ถ้ามี) ต้องชัดแจ้ง สอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์และเป็นไปตามหลักวิชาการ
เขียนแบบ และให้หมายความรวมถึงแผนภูมิและแผนผังด้วย
2.5 บทสรุปการประดิษฐ์ ต้องสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผย หรือแสดงไว้ใน
รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และรูปเขียน (ถ้ามี) โดยต้องระบุลักษณะทางเทคนิคที่
เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์โดยย่อ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงปัญหาทาง
เทคนิค ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยการประดิษฐ์และการใช้การประดิษฐ์นั้น
2.6 รายการอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21
2.7 เอกสารประกอบคำขอ ตามที่ระบุในข้อ 14 ของ [แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
เงื่อนไขในการยื่นคำขอ
1. ในการขอรับสิทธิบัตรให้ผู้ขอยื่นคาขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกาหนด
1.1 คำขอรับสิทธิบัตรต้องมีรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ยื่นไป
พร้อมกับคำขอและในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น ให้ผู้ขอรับ
สิทธิบัตรจัดให้มีรูปเขียนประกอบคำขอรับสิทธิบัตรยื่นไปพร้อมกับคำขอด้วย
1.2 ในกรณีที่การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับจุลชีพใหม่ รายละเอียด
การประดิษฐ์ให้หมายถึงหนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพและ/หรือเอกสารแสดงรายละเอียด
เกี่ยวกับลักษณะ หรือคุณสมบัติของจุลชีพนั้นซึ่งออกให้โดยสถาบันรับฝากเก็บจุลชีพที่กรม
ทรัพย์สินทางปัญญาจะประกาศรายชื่อเป็นคราวๆ ไป
2. การมอบอำนาจ
2.1 กรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้มอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียน
ไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนในราชอาณาจักรโดยยื่นหนังสือมอบอำนาจต่ออธิบดีตาม
หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การมอบอำนาจนั้นได้กระทำในต่างประเทศหนังสือมอบอำนาจนั้นต้องมีคำ
รับรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือ
หัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่
อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือคำรับรองของ
บุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นให้มีอานาจรับรองลายมือชื่อ หรือ
(2) ในกรณีที่หนังสือมอบอำนาจนั้นได้กระทำในประเทศไทยต้องส่งภาพถ่ายหนังสือเดินทาง
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้อธิบดีเห็นว่า
ในขณะมอบอำนาจผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริงด้วย
2.2 ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
กระทำการแทน จะมอบอำนาจให้แก่ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทน
ได้เท่านั้น
2.3 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังนี้
(1) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ให้ปิดอากร 10 บาท
(2) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ให้ปิด
อากร 30 บาท
(3) กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคน ให้ปิดอากรคิด
ตามรายบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท
การดำเนินการตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่
1. ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอแล้ว ถ้าปรากฏมีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ เจ้าหน้าที่จะแจ้ง
ให้ผู้ขอ หรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไข
ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ ตามมาตรา 27
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาอาจขยายกำหนดเวลาดังกล่าวให้ตามเห็น
สมควร
2. การยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องมา
ดำเนินการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงาน
พาณิชย์จังหวัด ทั้งนี้คำขอที่แก้ไขเพิ่มเติมจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการตรวจสอบเบื้องต้นตามลำดับ
เสมือนการยื่นคำขอใหม่
3. ในกรณียื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบจะ
ดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และรายละเอียดในคำขอรับสิทธิบัตร หรือ
อนุสิทธิบัตร คำร้อง หรือคำขออื่นๆ จากข้อมูลและรายละเอียดที่ปรากฏในระบบ e-Filing เป็นสำคัญ ซึ่ง
การตรวจสอบคำขอที่ยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะดำเนินการตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร คำร้อง หรือคำ
ขออื่นๆ ผ่านทางระบบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ฉบับลงวันที่ 5
มีนาคม พ.ศ.2561
หมายเหตุ
1. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือสาหรับประชาชนจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
ว่ามีความถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือบริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว
2. กรณีที่คำขอ หรือเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของ
รายการเอกสาร หรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติม (บันทึกข้อตกลงการรับคำขอ) โดยผู้ยื่นคำขอ
จะต้องดำเนินการแก้ไขและ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายในกาหนดระยะเวลา 90 วัน นับถัดจากวันยื่นคำ
ขอและในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการคืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งเหตุแห่ง
การคืนคำขอและสิทธิในการอุทธรณ์ให้ทราบด้วย
3. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมใดๆ ให้แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้วจะขอคืนค่าธรรมเนียม
ดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ เว้นแต่
(1) มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้คืนค่าธรรมเนียม หรือ
(2) ชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน หรือชำระเกินซึ่งการชำระดังกล่าวเกิดเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐโดยมิใช่ความผิดของผู้ชำระซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
4. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอต้องนำเอกสาร หรือหลักฐานหลายรายการมายื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ผู้ยื่นคำขอนำ
เอกสาร หรือหลักฐานมายื่นพร้อมกันทั้งหมดในคราวเดียวกัน
5. ในกรณีที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารหลักฐานให้ผู้ยื่นคำขอรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐาน
นั้นด้วย
6. ในกรณีที่จะต้องส่งเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคาแปลเป็น
ภาษาไทย โดยมีคารับรองของผู้แปลว่าเป็นคาแปลที่ถูกต้อง
7. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้บุคคล
อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ควรมีหนังสือมอบอำนาจช่วง หรือหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการให้บุคคลนั้นมี
อำนาจยื่นคำขอและลงนามในบันทึกข้อตกลงการรับคำขอแทนผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนได้ เพราะหากคำ
ขอไม่ถูกต้อง หรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและบุคคลผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจลงนามในบันทึกดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ไม่อาจรับคำขอของท่านไว้ได้
8. ทั้งนี้ไม่นับระยะเวลาที่ผู้ขอต้องดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือระยะเวลาที่ผู้ขอแก้ไขคำ
ขอ หรือการขอให้ระงับการดำเนินการทางทะเบียนไว้ชั่วคราว หรือระยะเวลาที่ผู้ขอต้องยื่นรายงานผล
การตรวจสอบจากต่างประเทศ และไม่นับระยะเวลาที่ผู้ขอต้องยื่นคำขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
การประดิษฐ์ภายใน 5 ปีนับแต่วันประกาศโฆษณา
9. การคัดค้าน/โต้แย้ง กรณีที่มีผู้ยื่นคำคัดค้านเพราะเห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตร หรือ
เห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ ระยะเวลาดำเนินการจะเพิ่มอีก420 วัน
10. ผู้ขอรับสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ก่อนการ
จดทะเบียนการประดิษฐ์ หรือก่อนการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ผู้ขอมีสิทธิให้ถือเอาวันยื่นคำขอเดิม หรือวันที่เปลี่ยนแปลงสิทธิเป็นวันยื่นคำขอ
การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ Download
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
อว. ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง และตรงกับความต้องการของตลาดงานในแต่ละยุคสมัย ภายใต้แนวคิดของการเชื่อมโยงโลกของการศึกษากับการประกอบอาชีพ ให้นักศึกษาเรียนในมหาวิทยาลัยควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริง ในสถานประกอบการในลักษณะร่วมผลิต เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลัก โดยการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา จัดสหกิจศึกษา หรือ Cooperative Education มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ด้วยความหลากหลายของศาสตร์และบริบทของการทำงานแต่ละอาชีพที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดรูปแบบการจัดการศึกษาในแนวคิดเดียวกันในหลายรูปแบบและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพเชิงนโยบาย การพัฒนามาตรฐาน และการส่งเสริมสนับสนุน ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ภายใต้แพลตฟอร์มการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ Cooperative and Work Integrated Education เรียกสั้นๆ ว่า “CWIE” ซึ่งต่อมาได้บรรจุให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาดังกล่าวไว้ในแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 รวมทั้งแผนปฏิรูปการศึกษาฉบับล่าสุดด้วย
• ความหมายของการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE) เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษาเชิงประสบการณ์ (Experiential Education) บนฐาน สมรรถนะ (Competencies-based) ให้นักศึกษาได้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริง
ในสถานประกอบการ (Workplace) เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จ การศึกษา (Ready to Work) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาฝ่ายผลิตและสถานประกอบการฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต (University-workplace Engagement)
• แนวคิดในการพัฒนา CWIE Platform
การพัฒนา CWIE Platform หรือ Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) : University – Workplace Engagement ถือเป็นหัวใจของการขับเคลื่อน CWIE ตามเป้าหมายที่กำหนด 4 ประการ คือ 1) ส่งเสริมผลิตกำลังคนในสาขาวิชาและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ (Manpower Demand Driven) 2) ตอบสนองนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนของประเทศ 3) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัด CWIE และ 4) สร้างการมีงานทำและการพัฒนา
เส้นทางอาชีพให้นักศึกษา CWIE Platform ริเริ่มจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและได้รับความเห็นชอบร่วมกันจากจตุภาคี อันประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) Information 2) Matching 3) Co-designing and Implementation 4) Assessment and development และ 5) Outreach Activities
• หลักการของหลักสูตร CWIE (4 Key Characteristics of CWIE)
1. University-Workplace Engagement เป็นความร่วมมือร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา กับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันและอนาคต
2. Co-design Curriculum เป็นการร่วมออกแบบหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียนที่เชื่อมโยงโลก ของการศึกษากับโลกของการประกอบอาชีพ โดยการสร้างความสมดุลระหว่างวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต
3. Competency-based Education เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ฝึกแก้ปัญหา มีการวัดผลและประเมินระดับสมรรถนะที่เป็นระบบ
4. Experiential-based Learning ต้องมีการปฏิบัติงานจริงและประเมินการปฏิบัติงานจริงและมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสถานประกอบการ
• รูปแบบของหลักสูตร CWIE
1. แบบแยก (Separate) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีที่สถาบันอุดมศึกษาจนครบตามกำหนด หลังจากนั้น จึงไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น สหกิจศึกษา เป็นต้น
2. แบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาสลับกับการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาการเรียนในหลักสูตรนั้นๆ
3. แบบผสม (Mix) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีในสถาบันอุดมศึกษาส่วนหนึ่ง และการเรียน ภาคทฤษฎีพร้อมการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอีกส่วนหนึ่ง เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน กรณีศึกษาเกาะสมุยโมเดล (Samui Model) ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดหลักสูตร CWIE ทั้ง 3 รูปแบบต้องเป็นความร่วมมือจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักศึกษา ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ
• ประโยชน์ที่สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ และนักศึกษาจะได้รับจาก CWIE (Win-win-win Benefit)
o สถาบันอุดมศึกษา
1) ได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดงาน โดยเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้ ความรู้สู่การปฏิบัติ การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ ทำให้บัณฑิตมี สมรรถนะและคุณลักษณะที่พร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability)
2) เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาอาจารย์ โดยอาจารย์สามารถนำประสบการณที่ได้รับจากการไปนิเทศงานหรือทำงานกับภาคอุตสาหกรรมมาพัฒนาหลักสูตร หรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนา หรือต่อยอดภารกิจด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
o สถานประกอบการ
1) ได้แรงงานที่มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการ
2) ได้ความรู้แนวคิด และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จำกสถาบันอุดมศึกษา
3) ลดภาระค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงานใหม่ และอาจเกิดการจ้างงานทันที
o นักศึกษา
1) ได้พัฒนาทักษะต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งทักษะทำงวิชาชีพ (Hard skill) และทักษะในการอยู่ร่วม กับผู้อื่น (Soft skill) เป็นการเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ ที่พร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง
2) มีโอกาสได้งานทำก่อนจบภาคการศึกษา
• เป้าหมายของการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
o เชิงปริมาณ
การเพิ่มจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตร CWIE เป็น 2 เท่า ภายในระยะเวลา 5 ปีในลักษณะ Milestone ดังนี้
1) ปีที่ 1 เพิ่มร้อยละ 10
2) ปีที่ 2 เพิ่มร้อยละ 20
3) ปีที่ 3 เพิ่มร้อยละ 50
4) ปีที่ 4 เพิ่มร้อยละ 75
5) ปีที่ 5 เพิ่มร้อยละ 100
o เชิงคุณภาพ
นักศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตร CWIE มีสมรรถนะและคุณลักษณะทักษะที่พร้อมในการปฏิบัติงาน (Employability) และมีทักษะ (Skills) ที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและตลาดงาน มีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งมีศักยภาพที่พร้อมเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก (Global Mobility)
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน Download
การจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร
คำจำกัดความ
อนุสิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
อนุญาต หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทำกาใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความ
ยินยอมก่อนกระทำการนั้นและให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต
การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้งการให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย
ผู้อนุญาต หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาต
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่าผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
คำขอ หมายความถึง บรรดาคำขอดังนี้
* คำขอรับอนุสิทธิบัตร [แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
* คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิษัตร/นุสิทธิบัตร [แบบสป/ สผ/อสป/003-ก]
* คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิ [แบบสป/อสป/004-ก]
* คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร/นุสิทธิบัตรและคัดสำเนาเอกสาร [แบบสป/สผ/อสป/006-ก]
* คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร [แบบสป/ สผ/อสป/001-ก(พ)]
* คำขออื่นๆ [แบบสป/สผ/อสป/011-ก]
ผู้รับบริการหรือยื่นคำขอ หมายถึง ประชาชนผู้รับบริการโดยตรง หรือหน่วยงานภาคเอกชน หรือภาครัฐที่มารับบริการจากหน่วยงานของรัฐ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
1.2 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
1.3 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรฯ นี้
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสาร
สกัดจากสัตว์ หรือพืช
(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของ
ประชาชน
2. คำขอรับอนุสิทธิ บัตร ผู้ยื่นคำขอต้องมีรายละเอียดประกอบคำขอดังนี้
2.1 แบบพิมพ์คำขอ[แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
2.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ต้องบรรยายรายละเอียดที่มีข้อความสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้งอันจะ
ทำให้ผู้มีความชำนาญใน
ระดับสามัญในศิลปะ หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องสามารถทำและปฏิบัติตามการประดิษฐ์นั้นได้
ดังนี้
(1) ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
(2) ระบุสาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
(3) ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้เข้าใจการประดิษฐ์นั้นดีขึ้นและ
เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ระบุเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย (ถ้ามี)
(4) อธิบายลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์
(5) เปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์
(6) อธิบายรูปเขียนแต่ละรูปโดยย่อ (ถ้ามี)
(7) วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด
2.3 ข้อถือสิทธิ ต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรประสงค์จะขอความคุ้มครอง
โดยสมบูรณ์ รัดกุม และชัดแจ้ง รวมทั้งต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์
2.4 รูปเขียน(ถ้ามี) ต้องชัดแจ้ง สอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์และเป็นไปตามหลักวิชาการ
เขียนแบบ และให้หมายความรวมถึงแผนภูมิและแผนผังด้วย
2.5 บทสรุปการประดิษฐ์ ต้องสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ได้เปิดเผย หรือแสดงไว้ใน
รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ และรูปเขียน (ถ้ามี) โดยต้องระบุลักษณะทางเทคนิคที่
เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์โดยย่อ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงปัญหาทาง
เทคนิค ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยการประดิษฐ์และการใช้การประดิษฐ์นั้น
2.6 รายการอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21
2.7 เอกสารประกอบคำขอ ตามที่ระบุในข้อ 14ของ [แบบสป/สผ/อสป/001-ก]
เงื่อนไขในการยื่นคำขอ
1. ในการขอรับอนุสิทธิบัตรให้ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนด
1.1 คำขอรับอนุสิทธิบัตรต้องมีรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ยื่นไป
พร้อมกับคำขอและในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น ให้ผู้ขอรับอนุ
สิทธิบัตรจัดให้มีรูปเขียนประกอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรยื่นไปพร้อมกับคำขอด้วย
1.2 ในกรณีที่การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับจุลชีพใหม่
รายละเอียดการประดิษฐ์ให้หมายถึงหนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพและ/หรือเอกสารแสดง
รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ หรือคุณสมบัติของจุลชีพนั้นซึ่งออกให้โดยสถาบันรับฝากเก็บจุล
ชีพที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะประกาศรายชื่อเป็นคราวๆ ไป
2. การมอบอำนาจ
2.1 กรณีที่ผู้มอบอนุสิทธิบัตรไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้มอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้น
ทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทนในราชอาณาจักโดยยื่นหนังสือมอบอำนาจต่ออธิบดี
ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การมอบอำนาจนั้นได้กระทำในต่างประเทศหนังสือมอบอำนาจนั้นต้องมีคำ
รับรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ หรือ
(2) ในกรณีที่หนังสือมอบอำนาจนั่นได้กระทำในประเทศไทยต้องส่งภาพถ่ายหนังสือเดินทาง
หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้อธิบดีเห็นว่าในขณะมอบอำนาจผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริงด้วย
2.2 ในกรณีที่ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
กระทำการแทน จะมอบอำนาจให้แก่ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทน
ได้เท่านั้น
2.3 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังนี้
(1) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ให้ปิดอากร 10 บาท
(2) กรณีมอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ให้ปิด
อากร 30 บาท
(3) กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคน ให้ปิดอากรคิด
ตามรายบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท
การดำเนินการตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่
1. ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอแล้ว ถ้าปรากฏมีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ เจ้าหน้าที่จะแจ้ง
ให้ผู้ขอ หรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ ตามมาตรา 27 เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาอาจขยายกำหนดเวลาดังกล่าวให้ตามเห็นสมควร
2. การยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ผู้ยื่นคำขอต้องมา
ดำเนินการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทั้งนี้คำขอที่แก้ไขเพิ่มเติมจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการตรวจสอบเบื้องต้นตามลำดับเสมือนการยื่นคำขอใหม่
3. ในกรณียื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบจะดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และรายละเอียดในคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิ บัตร คำร้อง หรือคำขออื่นๆ จากข้อมูล และรายละเอียดที่ปรากฏในระบบ e-Filing เป็นสำคัญ ซึ่งการตรวจสอบคำขอที่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะดำเนินการตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรคำร้อง หรือคำขออื่นๆ ผ่านทางระบบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2561
4. ในกรณีคำขอถูกต้องหรือได้แก้ขถูกต้องแล้วเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียน และออกอนุสิทธิบัตร และประกาศโฆษณาภายใน 60วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งสองครั้ง หากครั้งที่สองไม่มาตามแจ้งจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอในการประกาศโฆษณาจะประกาศในหนังสือประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร
5. เมื่อประกาศโฆษณาแล้วบุคคลอื่นที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถที่จะขอให้ตรวจสอบอนุสิทธิบัตรว่าเป็นไป
ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ประกาศโฆษณา หลังจากครบ 1 ปี ผู้
ตรวจสอบจะทำการพิจารณาหากปรากฏว่าอนุสิทธิบัตรนั้น ไม่เป็นไปตามกฎหมายก็จะถูกเพิกถอน
ต่อไป
6. ในกรณียกคำขอ ประชาชนสามารถอุทธรณ์คำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามกฎหมายต่อไป
หมายเหตุ
1. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือสำหรับประชาชนจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
ว่ามีความถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบไว้ในคู่มือบริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว
2. กรณีที่คำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสาร หรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติม (บันทึกข้อตกลงการรับคำขอ โดยผู้อื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขและ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติม ภายในกำหนดระยะเวลา 90วัน นับถัดจากวันยื่นคำขอและในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการคืนคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเหตุแห่งการคืนคำขอและสิทธิในการอุทธรณ์ให้ทราบด้วย
3. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้ชำระเงินค่าธรมเนียมใดๆ ให้แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้วจะขอคืนค่าธรรมเนียม
ดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ เว้นแต่
(1) มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้คืนค่าธรรมเนียมหรือ
(2) ชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน หรือชำระเกินซึ่งการชำระดังกล่าวเกิดเนื่องจากความผิดพลาดของ
เจ้าหน้าที่รัฐโดยมิใช่ ความผิดของผู้ชำระซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
4. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอต้องนำเอกสาร หรือหลักฐานหลายรายการมายื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ผู้ยื่นคำขอนำเอกสาร หรือหลักฐานมายื่น พร้อมกันทั้งหมดในคราวเดียวกัน
5. ในกรณีที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารหลักฐานให้ผู้ยื่นคำขอรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐาน
นั้นด้วย
6. ในกรณีที่จะต้องส่งเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นคำขอส่งเอกสารนั้นพร้อมด้วยคำแปลเป็น
ภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
7. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ควรมีหนังสือมอบอำนาจช่วง หรือหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการให้บุคคลนั้นมีอำนาจยื่นคำขอและลงนามในบันทึกข้อตกลงการรับคำขอแทนผู้ยื่นคำขอ หรือตัวแทนได้ เพราะหากคำขอไม่ถูกต้อง หรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและบุคคลผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจลงนามในบันทึกดังกล่าว เจ้าหน้าไม่อาจรับคำขอของท่านไว้ได้
8. ทั้งนี้ไม่นับระยะเวลาที่ผู้ขอต้องดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือระยะเวลาที่ผู้ขอแก้ไขคำขอ หรือการขอให้ระงับการดำเนินการทางทะเบียนไว้ชั่วคราว
9. ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับจากอนุสิทธิบัตรเป็นสิทธิ บัตรได้
ก่อนการออกอนุสิทธิบัตรหรือก่อนการประกาศโฆษณาแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ผู้ขอมีสิทธิให้ถือเอาวันยื่นคำขอเดิม หรือวันที่เปลี่ยนแปลงสิทธิเป็นวันยื่นคำขอ
การจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร Download